web stats

ข่าว

+-User

Welcome, Guest.
Please login or register.
 
 
 
Forgot your password?
ปัญหาการสมัครสมาชิก
วิธีเปลี่ยนสถานะเป็นนักเขียน
วิธีลงนิยาย
วิธีใช้งานบอร์ด

+-สถิติการใช้งาน

Members
Total Members: 880
Latest: Levitra5a
New This Month: 0
New This Week: 0
New Today: 0
Stats
Total Posts: 1553
Total Topics: 886
Most Online Today: 178
Most Online Ever: 190
(08 กรกฎาคม 2022 เวลา 19:00:55 )
Users Online
Members: 0
Guests: 164
Total: 164

ผู้เขียน หัวข้อ: Book & Movie Review: Room (เด็กชายในห้องปิดตาย/ ขังใจไม่ยอมไกลกัน)  (อ่าน 2789 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nuffy

  • นักเขียน
  • ขาจร
  • ****
  • กระทู้: 93
- Room -

เด็กชายในห้องปิดตาย / ขังใจไม่ยอมไกลกัน


เรื่องย่อ

เวอร์ชั่นหนังสือ
"สำหรับ 'แจ๊ค' วัยห้าขวบแล้ว โลกของเขาคือห้องขนาดสิบเอ็ดคูณสิบเอ็ดฟุต ห้องคือที่ที่เขาเกิด ที่ที่เขาเล่น กิน นอน และที่ที่มีแม่ เพียงแต่เขาจะต้องเข้าไปนอนในตู้เสื้อผ้าหลังสามทุ่ม ก่อนที่เฒ่านิคพูดอะไรกับแม่บ้าง และเขาทำอะไรบ้าง สำหรับแจ๊คนั้นห้องนี้คือโลกทั้งใบ แต่สำหรับแม่ ห้องนี้คือคุก ตอนเขาสี่ขวบแม่ไม่เคยบอกเขาว่าข้างนอกมีอะไรบ้าง แต่ผู้ชายที่อายุห้าขวบนั้นโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว และแม่ก็อยากออกไปข้างนอกแล้วด้วย"

เวอร์ชั่นหนัง
"สำหรับ 'จอย' วัย 24 โลกของเธอถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเมื่อถูกหลอกโดยชายที่เธอไม่รู้ชื่อ เธออยู่ในห้อง หรือ เพิงพักที่ถูกปิดล็อคด้วยรหัส ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงหลังคาสกายไลท์ที่ทำให้รู้ว่าเป็นเวลาและฤดูอะไรเท่านั้น เธอถูกขังไว้ในห้องนี้ถึง 7 ปี ในฐานะสิ่งของที่ถูกระบายความใคร่ของผู้ที่จับเธอมา และในปีที่ลูกชายของเธออายุครบๆ 5 ปี เธอรู้สึกว่าเธออยู่ในห้องนี้นานเกินไปแล้ว และนี่คือโอกาสที่เธอจะต้องหนี"


Review:
การดำเนินเรื่องทั้งเวอร์ชั่นหนังสือและเวอร์ชั่นหนังเหมือนกันคือการเล่าเรื่องของแจ็ค เด็กชายผมยาวคนหนึ่ง เขาเกิดและเติบโตในห้องปิดตายขนาด 11X11 ฟุต มีทางเข้าทางออกทางเดียวคือประตูที่ใส่รหัสเอาไว้ มีช่องแสงทางด้านบนหลังคาด้านเดียวที่ส่องให้เห็นอากาศภายนอกแต่ออกไปไม่ได้ เขาต้องเข้าไปนอนในตู้เสื้อผ้าตอน 3 ทุ่มของทุกๆ วัน เพราะเฒ่านิคที่เป็นแขกคนเดียวเข้ามา บางทีก็เอาของวันขวัญวันอาทิตย์มาให้ มันหมายถึงแม่และเขาจะได้อาหารใหม่ๆ เสื้อผ้า ของเล่น และของใช้จำเป็นต่างๆ ที่อยู่ในลิสต์รายการที่ขอไป การอยู่ในห้องโดยที่ไม่ได้ออกไปไหนเลยแบบนี้อาจจะดูน่าเบื่อสำหรับเด็ก แจ็คก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะเขามีแม่ มีทีวีเป็นเพื่อน แต่แม่สิ ดูจะไม่อยากอยู่ในห้องนี้เอามากๆ เมื่อแจ็คอายุได้ 5 ขวบ แม่กับเขาก็วางแผนหนีที่จะออกไปห้องนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นความคิดของแม่ เพราะแจ็คไม่เคยอยากออกไปจากที่นี่เลย

แต่เมื่อหนีออกมาได้ คนที่ปรับตัวต่อโลกภายนอกหลังจากถูกจองจำมานานอย่าง 'จอย' กลับรับสภาพความเป็นจริงที่ดำเนินต่อไปไม่ได้ เธอกลายเป็นคนที่ซึมเศร้า เก็บกดและมีอาการทางจิต จาก PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เพราะหลังจากหนีออกมาได้ เธอก็พบว่าพ่อกับแม่ของเธอแยกทางกัน พ่อของเธอไม่ยอมรับแจ็ค ลูกของเธอที่เกิดมาจากการถูกข่มขืน และการที่จมอยู่กับความทรงจำเก่าๆ ก่อนที่จะถูกจับตัวไป ในขณะที่แจ็ค สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าเพราะยังเป็นเด็กที่สามารถรับรู้และเปลี่ยนแปลงอะไรได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่


ตัวอย่างหนัง


ข้อแตกต่างระหว่างเวอร์ชั่นหนังสือและหนัง
เวอร์ชั่นหนังสือ:
- จอยถูกจับเมื่ออายุ 19 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
- จอยเคยแท้ง คลอดลูกตาย ก่อนที่จะมีแจ็ค
- จอยมีอาการปวดฟันขั้นรุนแรง
- ตอนจบหนังสือไม่ได้บอกว่าแจ็คกับแม่จอยจะใช้ชีวิตในโลกภายนอกอย่างไรต่อ ทุกอย่างยังขึ้นอยู่กับกระบวนการฟื้นฟูสภาพจิตใจของจอยที่ยังคงไม่ดีขึ้น


เวอร์ชั่นหนัง:
- จอยถูกจับเมื่ออายุ 17 ปี และกำลังศึกษาในระดับมัธยมปลาย
- จอยมีลูกแค่คนเดียว คือแจ็ค
- ฟันผุของจอยหลุดออกมาขณะที่กำลังล้างจานในห้อง
- ตอนจบเป็นแบบ Happy End


ความชอบ (เฉพาะเวอร์ชั่นหนัง)
- ฉากเปิดเรื่องและปิดเรื่อง: แจ็คทักทายสิ่งของทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในห้อง และสุดท้าย เขาก็บอกลาทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง และบอกให้แม่ของเขาบอกลาเช่นเดียวกัน
- ฉากหนี: ลุ้นมาก ระทึกมาก ตำรวจก็โคตรเก่งที่ตีความหมายจากข้อมูลอันแสนจะน้อยนิดที่ออกมาจากปากของเด็กวัย 5 ขวบที่กำลังตื่นกลัว
- น้องที่เล่นเป็นแจ็ค เล่นโคตรเก่ง อยากให้น้องได้ชิงออสการ์มากกก (แต่น้องไม่มีชื่อเข้าชิง)

ช่วงกลางเรื่องออกจะเนือยๆ หน่อย และประเด็น PTSD ของจอยก็แตะแค่ผิวๆ เท่านั้นเอง

โดยรวมแล้ว ถือว่า ดี

คะแนน 4/5




 

Powered by EzPortal
    ต้นฉบับในเว็บไซต์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้แต่งต้นฉบับที่นำมาลง
    copyright © Yuriread.com All rights reserved.